รวมเรื่องสัญญากู้ร่วมซื้อบ้าน รู้ไว้ก่อนเซ็นไม่เสียหาย || Home Knowledge
By Admin | 25 มกราคม 2564
การเลือกซื้อบ้านนั้น บ้านเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มทุก ๆ ปี ดังนั้นเราจึงต้องเลือกสรรและหาบ้านที่ตรงกับความต้องการของตัวเรามากที่สุด แต่หากบ้านที่เราต้องการมีมูลค่ายอดผ่อนต่อเดือนมากกว่า 40% ของรายได้ มีโอกาสที่ธนาคารจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้ ซึ่งเราอาจต้องใช้เงินดาวน์เพิ่มเติมเพื่อลดยอดผ่อนต่อเดือนหรืออีกวิธีคือการยื่นกู้ร่วม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักการกู้ร่วมว่ามีข้อดีและข้อเสียที่ต้องระวังอย่างไรบ้าง รวมถึงใครบ้างที่สามารถกู้ร่วมได้
“กู้ร่วม” หมายความว่าการทำสัญญาเงินกู้ที่มีผู้ร่วมกู้ไม่น้อยกว่า 2 คน เพื่อเพิ่มความสามารถในการกู้ ทำให้มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และยังได้รับวงเงินก้อนใหญ่มากขึ้น ส่วนใหญ่ธนาคารจะแนะนำให้กู้ร่วมสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงหรือเคยติดบูโรมาก่อน
ใครที่มีคุณสมบัติสามารถเข้ามากู้ร่วมกับเราได้บ้าง?
สำหรับผู้ที่จะมากู้ร่วมกับเราได้นั้นต้องมีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติ หรือคู่สมรส หากคู่สมรสไม่ได้จดทะเบียนด้วยกันก็สามารถหาหลักฐานว่ามีการอยู่กินฉันสามีภรรยามายืนยันได้ เช่น ใบลงบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจว่ามีการอยู่กินฉันสามีภรรยา หรือหากมีบุตรด้วยกันสามารถใช้สูติบัตรและทะเบียนบ้านที่มีชื่อของคู่สมรสมากู้ร่วมได้
สำหรับพี่น้องคนละนามสกุลสามารถนำมากู้ร่วมได้เช่นกันแต่ต้องแสดงหลักฐานที่เห็นว่ามีพ่อแม่เดียวกันเช่น ทะเบียนบ้านหรือสูติบัตร
ผู้ที่มากู้ร่วมจะต้องมีรายได้ประจำไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท ร่วมถึงภาระหนี้ไม่ควรมีเยอะเกิน และไม่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละธนาคารด้วย
เมื่อกู้ร่วมแล้วต้องรับผิดชอบหนี้คนละครึ่งไหม?
การกู้ร่วมธนาคารจะไม่มองว่าเป็นหนี้สินของสองคน แต่ธนาคารจะมองว่าเป็นหนี้สินก้อนเดียว และหากคุณผิดนัดชำระธนาคารก็สามารถตามหนี้ของผู้ที่กู้ร่วมได้ทุกคน หรือหากคุณไม่มีความสามารถชำระหนี้แล้ว ธนาคารจะไปติดตามหนี้ของผู้กู้ร่วมแทน
ข้อควรระวังก่อนเซ็นกู้ร่วม
- ปรึกษากันให้เข้าใจว่าใครจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
- ก่อนตกลงเซ็นสัญญากู้ร่วมควรรู้ประวัติทางการเงินของผู้กู้ก่อน
- สัญญากู้ร่วมซื้อบ้านส่วนใหญ่มีระยะการผ่อนไม่ต่ำกว่าสิบปี
สรุป การเซ็นสัญญากู้ร่วมมีประโยชน์ในการเพิ่มวงเงินให้ก้อนใหญ่ขึ้นและเพิ่มโอกาสในการอนุมัติของธนาคารมากขึ้น โดยส่วนใหญ่หากเป็นคู่สามีภรรยาจะไม่ค่อยมีปัญหาภายหลังจากตกลงกู้ร่วม แต่ในพี่ น้อง ญาติ อาจจะต้องพิจารณาในการเข้าตกลงเซ็นกู้ร่วมให้ละเอียด เพราะโอกาสเกิดปัญหาภายหลังมีมากกว่า