มาตรการ LTV คืออะไร ส่งผลกระทบต่อคนซื้อบ้านอย่างไร || Home Knowledge
By Admin | 5 กุมภาพันธ์ 2564
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2562 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศมาตรการ LTV (Loan to Value) เพื่อยับยั้งการเกร็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อาจนำไปสู่สภาวะฟองสบู่แตกและกระจายไปสู่เศรษฐกิจทั่วประเทศ โดยมาตรการ LTV จะส่งผลต่อคนบางกลุ่มเท่านั้น สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกหรือรีไฟแนนซ์ไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้
มาตรการ LTV (Loan to Value) หรือมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่ต้องการกู้บ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป เพื่อควบคุมวินัยทางการเงิน ลดอัตราหนี้เสีย (NPL) รวมถึงการกู้ซื้อเพื่อเกร็งกำไรในอนาคต และป้องกันวิกฤตทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกาศใช้มาตรการ LTV เมื่อ เมษายน พ.ศ.2562 โดยในช่วงแรกมีหลักเกณฑ์ค่อนข้างเข้มงวดเช่น บ้านหลักแรกที่ราคาต่ำกว่าสิบล้านบาท ธนาคารจะงดการปล่อยสินเชื่อเพื่อการตกแต่ง บ้านหลักแรกที่ราคามากกว่าสิบล้านบาทกำหนดวางเงินดาวน์ 20% บ้านหลังที่ 2 ผ่อนหลังแรกไม่เกินสามปีกำหนดวางเงินดาวน์ 20% ผ่อนหลังแรกเกินสามปีกำหนดวางดาวน์ 10% เป็นต้น จากหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทำให้ภาพรวมด้านอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวมากขึ้น จึงทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการส่งเสริมเพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมา เช่น โครงการบ้านดีมีดาวน์ หรือมาตรการลดค่าโอนและค่าจดจำนองเหลือเพียง 0.01%
เมื่อทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทราบถึงผลตอบรับของมาตรการ LTV ที่ดูค่อนข้างเข้มงวดเกินไป ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแก้ไขและปรับปรุงหลักเกณฑ์ LTV ใหม่เพื่อให้ผู้คนที่อยากมีบ้านจริง ๆ เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม ตามนี้ บ้านหลังแรกที่ราคาต่ำกว่าสิบล้านบาท ธนาคารปล่อยสินเชื่อเพื่อการตกแต่ง 10% บ้านหลังแรกที่ราคามากกว่าสิบล้านบาทกำหนดวางเงินดาวน์ 10% บ้านหลังที่สองราคาต่ำกว่าสิบล้านบาทจากเกณฑ์เดิม 3 ปี ลดลงเหลือ 2 ปี
ดังนั้นสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกไม่ต้องกังวลว่ามาตรการ LTV จะมีผลกระทบต่อการยื่นขอสินเชื่อ ส่วนคนที่อยากมีบ้านหลังที่สองอาจจะต้องรอลุ้นว่าภายในปี พ.ศ.2564 นี้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้พับมาตรการ LTV หรือเลื่อนออกไปก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจขึ้นมาจะดีกว่าไหม?